วิสัยทัศน์/ พันธกิจ
- รายละเอียด
- หมวด: เกี่ยวกับเรา
- เผยแพร่เมื่อ: วันพฤหัสบดี, 07 ธันวาคม 2560 11:22
- ฮิต: 5504
คำขวัญตำบลโพธิ์ทอง
โพธิ์ทองเมืองน่าอยู่ หลวงปู่แพงวัดโพธิ์ร้อยต้นศักดิ์สิทธิ์
วิถีประชาเศรษฐกิจพอเพียง
ลือล้ำค่าเครื่องจักรสาร พานบายศรี กลุ่มสตรีทอผ้า
เลื่องลือล้ำค่าป่าใหญ่โคกคำปลากั้ง
*****************************
๑. ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง
1.1 วิสัยทัศน์
“ มุ่งสร้างโพธิ์ทองเมืองน่าอยู่ คู่สังคมเกษตรที่ดี เศรษฐกิจก้าวหน้า พัฒนาการศึกษา เป็นชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม พร้อมภูมิปัญญาท้องถิ่น ”
1.2 ยุทธศาสตร์
ในการพัฒนาเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ได้ใช้ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ ที่มาจากสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน ประกอบด้วย นำนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนพัฒนาอำเภอมาบูรณาการเป็นแนวทางในการพัฒนาเทศบาล เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวได้ในโลกแห่งการแข่งขันยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไว้ 5 ด้านดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอาชีพและรายได้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านประชาธิปไตยและการบริหารจัดการที่ดี
1.3 เป้าประสงค์
- ประชาชนมีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค
- การคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็ว
- ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกฝังให้เยาวชน ประชาชน รักการปลูกต้นไม้
สิ่งแวดล้อมใสสะอาด ปราศจากมลพิษ เป็นตำบลน่าอยู่
- ส่งเสริม สนับสนุน การใช้เกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืชปลอดสารพิษ
- ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอ ส่งเสริมการออมทรัพย์ สร้างเศรษฐกิจพอเพียง ลดรายจ่าย
ในครอบครัว
- การบริการด้านสุขภาพของประชาชน ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นไปอย่างทั่วถึง
- ช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยของประชาชนเพิ่มขึ้น
- ส่งเสริมการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวทันเทคโนโลยี
- ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
- ส่งเสริมด้านการศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริหารงานของเทศบาลตำบลโพธิ์ทองเป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพโปร่งใส
ตรวจสอบได้
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบมีจิตสำนึกในการรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
1.4 ตัวชี้วัด
๑) ประชาชนในเขตเทศบาลมีแหล่งน้ำในการอุปโภคเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๕
๒) ในเขตเทศบาลมีโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการร้อยละ ๘๐
๓) ประชาชนมีความรู้มากขึ้นร้อยละ 7๐ และศิลปวัฒนธรรมอันดียังคงอยู่
๔) ประชาชนในเขตเทศบาลร้อยละ ๘๐ มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา
๕) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร้อยละ ๑๐
๖) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๕ และพึ่งตนเองได้มากขึ้น
๗) ชุมชนในเขตเทศบาลร้อยละ ๖๐ น่าอยู่อย่างสงบสุข
๘) การบริการจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ ๖๐
๙) การบริการจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ ๖๐
1.5 ค่าเป้าหมาย
1) การรับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานมีความสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
๒) ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
๓) ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้
๔) มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข
๕) การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โปร่งใสตรวจสอบได้
1.6 กลยุทธ์
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางที่ 1 การพัฒนาด้านก่อสร้างปรับปรุง บำรุงถนน สะพาน และระบบระบายน้ำ
แนวทางที่ 2 การพัฒนาจัดให้มีและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแก่ประชาชน
ในพื้นที่
แนวทางที่ 3 การพัฒนาจัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรให้เพียงพอ
แก่ประชาชน
2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอาชีพและรายได้
แนวทางที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพทางการเกษตร
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีรายได้อย่างเพียงพอ
แนวทางที่ 3 การพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพให้กับประชาชน
3.การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
แนวทางที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาในระบบและนอกระบบ
แนวทางที่ 2 การพัฒนาสนับสนุน ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น
4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
แนวทางที่ 1 การรักษาความสงบเรียบร้อยและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
แนวทางที่ 2 การช่วยเหลือ จัดสวัสดิการ คนพิการ/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ
แนวทางที่ 3 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5.การพัฒนาองค์กรและบุคลากรภาครัฐสู่การบริหารจัดการที่ดี
แนวทางที่ 1 เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและพัฒนาศักยภาพเพื่อการบริการที่ดี
แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการสร้างสำนึกประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน
แนวทางที่ 3 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์สื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
1.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์
๑) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๒) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง
๔) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
๕) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโปร่งใสตรวจสอบได้
แผนงาน
๑) แผนงานบริหารงานทั่วไป
๒) แผนงานการรักษาความสงบภายใน
๓) แผนงานการศึกษา
๔) แผนงานสาธารณสุข
5) แผนงานเคหะและชุมชน
6) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
7) แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
8) แผนงานการเกษตร
9)แผนงานงบกลาง
1.8 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีของเทศบาลมีความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม ดังนี้