โครงการถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566

โครงการถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566

   
  1. หลักการและเหตุผล(ต่อเนื่อง)

          ด้วยปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอย ในตำบลโพธิ์ทอง มีปริมาณขยะถึง 5 ตันต่อวัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คน จะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 1.02 กิโลกรัมต่อวัน (ที่มา : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด) ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่ เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม

          แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ในระยะ 2 ปี (พ.ศ.2561) ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559 – 2564 นั้น เป็นแนวทางเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ซึ่งวางอยู่บนแนวคิด 3Rs – ประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการที่ยั่งยืน คือ การลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นทาง (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) หรือ ตามหลักการ(3Rs)1. ซึ่งการจัดการขยะนั้น มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะจากครัวเรือน ส่งเสริมการคัดแยกขยะจากต้นทาง เป็นการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปขยะ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะในภาพรวมทั้งประเทศลดลงทำให้ปริมาณขยะที่จะต้องเข้าสู่ระบบการกำจัดลดลง และมีการกำจัดที่ถูกวิธีเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ตามแนวคิดเรื่อง “ประชารัฐ” คือการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน/ประชาสังคม เป็นต้น

          กระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ว่า ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) โดยให้จังหวัดขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2566 ภายใต้กรอบการดำเนินงาน จำนวน 3 ระยะ ได้แก่ต้นทาง คือการลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และกำหนดให้ครัวเรือนทุกครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน กลางทางคือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

          กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก ครั้งที่ 13-4/2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2562 มีมติเห็นชอบการขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิตตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 มิถุนายน 2569 และการดำเนินการต้องจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของถังขยะเปียกในระดับครัวเรือน โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกเดือนในระบบสารสนเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบฯ ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้จัดโครงการถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อขับเคลื่อน การลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน” และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลต่างๆ ในพื้นที
3. เพื่อรณรงค์ และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

3. เป้าหมาย

          เชิงปริมาณ

  1. ลดปริมาณขยะมูลฝอย ขยะอินทรีย์และขยะเปียกจากต้นทางในครัวเรือน ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความรำคาญต่อชุมชน
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง มีถังขยะอินทรีย์และขยะเปียกทุกแห่ง
  3. ขยายผลในหมู่บ้านในเขตพื้นที่เขตตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
  4. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ/พนักงาน ลูกจ้าง ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทุกคน มีการดำเนินการจัดทำ ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง

          เชิงคุณภาพ

  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (เสียงตามสาย) ให้ความรู้เรื่องวิธีคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
  2. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ของชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

 

  1. วิธีการดำเนินการ

    1. จัดทำโครงการ “ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน” เพื่อขอรับการอนุมัติ
    2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายให้กับประชาชนตำบลโพธิ์ทอง เพื่อให้ความรู้เรื่องวิธีคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
    3. สำรวจจุดรอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ที่เหมาะสม และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ “การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน” ได้
    4. ดำเนินการทำ “ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน”
    5. ติดตามประเมินผลงานและสรุปผลการดำเนินงาน

 

5.สถานที่ดำเนินการ

          - หมู่บ้าน/ชุมชน ในพื้นที่ตำบลโพธิ์ทอง ทั้ง 18 หมู่บ้าน

         

  1. งบประมาณ

          งบประมาณจากเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง แผนงานเคหะและชุมชน งบดำเนินการ หมวด ค่าวัสดุ ประเภท วัสดุสำนักงาน ตั้งไว้ 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้

  1. ค่าถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร จำนวน 500 ถังๆละ 120 บาท เป็นเงิน 60,000 บาท

                                      รวมเป็นเงิน 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
7. ระยะเวลาในการดำเนินการ

          วันที่ 10 ธันวาคม 2565 ถึง 22 ธันวาคม 2565

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เพื่อขับเคลื่อน การลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่
2. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ของชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง ตำบลโพธิ์ทอง
3.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ (เสียงตามสาย) ให้ความรู้เรื่องวิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
4. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ/พนักงาน ลูกจ้าง ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และผู้ที่สนใจทุกคน มีการดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนตนเอง

9. การวัดผลและการประเมินผลโครงการ

          ประเมินผลโครงการด้วยแบบประเมินความพึ่งพอใจโครงการ “ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน”