ความหมายเทศบาล
เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการ กระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2543 เทศบาลใน ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,164 แห่ง

การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครอง ท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมี การทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตาม รูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้

“มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น”

การได้มาซึ่งฝ่ายบริหารของเทศบาล ปัจจุบัน เทศบาลทุกประเภท มีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

ขนาดเทศบาล
เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้นๆ ในพระราชบัญญัติเทศบาล

พุทธศักราช 2496 มาตรา 9,10,11 ได้กำหนดขนาดเทศบาลดังนี้
มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มี ราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตาม พระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อ และเขตของเทศบาลไว้ด้วย
มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้ พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลนคร พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อ และเขตของเทศบาลไว้ด้วย
สภาเทศบาล
เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน
เทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน
เทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 24 คน
ทั้งนี้ สภาเทศบาล ประกอบไปด้วย ประธานสภาเทศบาลหนึ่งคน และรองประธานสภาเทศบาลสองคน และนายกเทศบาล ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในเทศบาลทั้งหมด

คำขวัญตำบลโพธิ์ทอง

โพธิ์ทองเมืองน่าอยู่ หลวงปู่แพงวัดโพธิ์ร้อยต้นศักดิ์สิทธิ์

วิถีประชาเศรษฐกิจพอเพียง

ลือล้ำค่าเครื่องจักรสาร พานบายศรี กลุ่มสตรีทอผ้า

เลื่องลือล้ำค่าป่าใหญ่โคกคำปลากั้ง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  1. สภาพทั่วไป
           
    เดิมเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง เป็นเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2555

1.1 ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพนทองทางทิศตะวันตก 
ประมาณ 5 กิโลเมตร
1.2 เนื้อที่ 
มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 55 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 34,375 ไร่

1.3 ภูมิประเทศ 
ทิศเหนือ จรด ตำบลคำนาดี ทิศตะวันออก จรด ตำบลแวง , สระนกแก้ว
ทิศใต้ จรด ตำบลโพธิ์ศรีสว่าง ทิศตะวันตก จรด ตำบลนาอุดม , ตำบลอุ่มเม่า

1.4 จำนวนหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านโพธิ์ร้อยต้น
หมู่ที่ 2 บ้านโพนทองน้อย
หมู่ที่ 3 บ้านโสกแดง
หมู่ที่ 4 บ้านหนองแวง
หมู่ที่ 5 บ้านนาทม
หมู่ที่ 6 บ้านหนองไฮ
หมู่ที่ 7 บ้านร่องเตย
หมู่ที่ 8 บ้านนาอุ่ม
หมู่ที่ 9 บ้านหนองแวงน้อย
หมู่ที่ 10 บ้านบะเค
หมู่ที่ 11 บ้านโคกก่อง
หมู่ที่ 12 บ้านหนองเขื่อน
หมู่ที่ 13 บ้านโพนทองหลาง
หมู่ที่ 14 บ้านวังสำราญ
หมู่ที่ 15 บ้านดอนยานาง
หมู่ที่ 16 บ้านโนนไร่
หมู่ที่ 17 บ้านโพธิ์งาม
หมู่ที่ 18 บ้านวังทองวัฒนา

1.5 ประชากร ประชากรทั้งสิ้น 10,039 แยกเป็นชาย 4,998 คน หญิง 5,041 คน เฉลี่ย 182 คน / ตารางกิโลเมตร

2. สภาพทางเศรษฐกิจ

2.1 อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และบางส่วนประกอบอาชีพทำไร่และรับจ้าง
2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
ธนาคาร - แห่ง
โรงแรม - แห่ง
ปั้มน้ำมันและก๊าช - แห่ง
โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
โรงสี - แห่ง

  1. สภาพสังคม

3.1 การศึกษา 
- โรงเรียนประถม 5 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา - แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านห้องสมุดประชาชน - แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด / สำนักสงฆ์ 13 แห่ง
- มัสยิด - แห่ง
- ศาลเจ้า - แห่ง
- โบสถ์ - แห่ง
3.3 การสาธารณสุข 
- โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เตียง - แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 3 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน - แห่ง
- อัตราการมีการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
- สถานีตำรวจ - แห่ง
- สถานีดับเพลิง - แห่ง

  1. การบริหารพื้นฐาน
    4.1 การคมนาคม
  2. มีถนนลาดยางจากบ้านโพนทองน้อยไปถึงบ้านนาทม
  3. ถนนลาดยางจากบ้านหนองไฮ – ร่องเตย – โนนไร่ – นาอุ่ม
  4. ถนนคอนกรีตเชื่อมระหว่างบ้านโสกแดง - นาทม ไปจดบ้านหนองแวง
  5. ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านโพธิ์ร้อยต้น , โพนทองน้อย , โสกแดง , หนองแวง , นาทม , หนองไฮ ,
    ร่องเตย , นาอุ่ม , หนองแวงน้อย , บะเค โคกก่อง , หนองเขื่อน, โพนทองหลาง วังสำราญ , ดอนยานาง ,
    โนนไร่ , โพธิ์งาม , วังทองวัฒนา หมู่บ้านละประมาณ 300 เมตร
    4.2การโทรคมนาคม 
    - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
    - สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ - แห่ง
    4.3 การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้านทุกครอบครัว 
    4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ 
    - ลำน้ำ , ลำห้วย 10 สาย
    - บึง , หนองและอื่น ๆ 9 แห่ง
    4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 
    - ฝาย 33 แห่ง
    - บ่อน้ำตื้น 36 แห่ง
    - บ่อโยก 60 แห่ง
  6. ข้อมูลอื่น ๆ
    5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าโคกคำปากั้ง เนื้อที่ประมาณ 562 ไร่
    5.2 มวลชนจัดตั้ง 
    - ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น 300 คน
    - ไทยอาสาป้องกันชาติ - รุ่น - คน
    - กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ - รุ่น - คน
    - ( อื่น ๆ )