ความหมายของการบริการสาธารณะ

การบริการสาธารณะ หมายถึง การบริการหรือกิจกรรมที่รัฐจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของส่วนรวม โดยเป็นกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน[1]อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและสร้างการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาประเทศชาติในภาพรวม โดยมีหลักการที่เป็นประเด็นสำคัญในการจัดบริการสาธารณะคือ การจัดบริการสาธารณะต้องดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น มีความเสมอภาค ความต่อเนื่อง และความโปร่งใสในการให้บริการ 

การจัดบริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้มีการกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริการส่วนตำบล และกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้เป็นไปตามที่ได้รับมอบหมาย และกำหนดให้รัฐบาลเป็นผู้จัดสรรเงินอุดหนุนและเงินจากการจัดสรรภาษีและอากร เพื่อให้การดำเนินการด้านบริการสาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนจากรัฐแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านหลัก คือ ด้านการจัดบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างถนน ทางระบายน้ำ ไฟฟ้าสาธารณะ และการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต เช่น การบริการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การบริการสาธารณะสุขมูลฐาน การจัดการศึกษาท้องถิ่น และการบริการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในท้องถิ่น ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และรักษาความสงบ เช่น การป้องกันอุบัติภัยทางถนน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการจัดบริการห้องน้ำสาธารณะในท้องถิ่น และด้านสุดท้ายคือ ด้านการลงทุน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรม เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและอาชีพ การพัฒนาป่าชุมชน และการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น

โครงสร้างเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง

 

 

 


คำขวัญตำบลโพธิ์ทอง

 โพธิ์ทองเมืองน่าอยู่ หลวงปู่แพงวัดโพธิ์ร้อยต้นศักดิ์สิทธิ์

วิถีประชาเศรษฐกิจพอเพียง

ลือล้ำค่าเครื่องจักรสาร พานบายศรี กลุ่มสตรีทอผ้า

เลื่องลือล้ำค่าป่าใหญ่โคกคำปลากั้ง

*****************************

 

๑.  ยุทธศาสตร์ของเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง

 

          1.1 วิสัยทัศน์

มุ่งสร้างโพธิ์ทองเมืองน่าอยู่ คู่สังคมเกษตรที่ดี เศรษฐกิจก้าวหน้า พัฒนาการศึกษา เป็นชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม พร้อมภูมิปัญญาท้องถิ่น

          1.2 ยุทธศาสตร์

          ในการพัฒนาเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ได้ใช้ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงของพื้นที่ ที่มาจากสภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน ประกอบด้วย นำนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนพัฒนาอำเภอมาบูรณาการเป็นแนวทางในการพัฒนาเทศบาล เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวได้ในโลกแห่งการแข่งขันยุคโลกาภิวัฒน์       ซึ่งเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาไว้   5  ด้านดังนี้ 

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอาชีพและรายได้
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านประชาธิปไตยและการบริหารจัดการที่ดี

1.3 เป้าประสงค์

  1. ประชาชนมีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค
  2. การคมนาคมมีความสะดวก รวดเร็ว
  3. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกฝังให้เยาวชน ประชาชน รักการปลูกต้นไม้

               สิ่งแวดล้อมใสสะอาด ปราศจากมลพิษ เป็นตำบลน่าอยู่

  1. ส่งเสริม สนับสนุน การใช้เกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ การปลูกพืชปลอดสารพิษ
  2. ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอ ส่งเสริมการออมทรัพย์ สร้างเศรษฐกิจพอเพียง ลดรายจ่าย

               ในครอบครัว

  1. การบริการด้านสุขภาพของประชาชน ผู้สูงอายุ คนพิการ เป็นไปอย่างทั่วถึง
  2. ช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยของประชาชนเพิ่มขึ้น
  3. ส่งเสริมการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก้าวทันเทคโนโลยี
  4. ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
  5. ส่งเสริมด้านการศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. การบริหารงานของเทศบาลตำบลโพธิ์ทองเป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วมีประสิทธิภาพโปร่งใส

                ตรวจสอบได้

  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบมีจิตสำนึกในการรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ

          1.4 ตัวชี้วัด

         ๑)  ประชาชนในเขตเทศบาลมีแหล่งน้ำในการอุปโภคเพิ่มมากขึ้นร้อยละ  ๕

          ๒)  ในเขตเทศบาลมีโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการร้อยละ  ๘๐

          ๓)  ประชาชนมีความรู้มากขึ้นร้อยละ 7๐  และศิลปวัฒนธรรมอันดียังคงอยู่

          ๔)  ประชาชนในเขตเทศบาลร้อยละ ๘๐ มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนา ศาสนา  วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา

           ๕)  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นร้อยละ  ๑๐

          ๖)  ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ ๕  และพึ่งตนเองได้มากขึ้น

          ๗)  ชุมชนในเขตเทศบาลร้อยละ  ๖๐  น่าอยู่อย่างสงบสุข

          ๘)  การบริการจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ  ๖๐

          ๙)  การบริการจัดการของเทศบาลมีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ  ๖๐

 

          1.5 ค่าเป้าหมาย

          1) การรับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานมีความสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง              

          ๒)  ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น               

๓)  ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้                   

๔)  มลภาวะและสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างสงบสุข                     

๕)  การบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โปร่งใสตรวจสอบได้    

          1.6 กลยุทธ์

1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

                   แนวทางที่ 1 การพัฒนาด้านก่อสร้างปรับปรุง บำรุงถนน สะพาน และระบบระบายน้ำ

                   แนวทางที่ 2 การพัฒนาจัดให้มีและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแก่ประชาชน

                                   ในพื้นที่

                   แนวทางที่ 3 การพัฒนาจัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรให้เพียงพอ

                                   แก่ประชาชน

2.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอาชีพและรายได้

                   แนวทางที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพทางการเกษตร

                   แนวทางที่ 2 ส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีรายได้อย่างเพียงพอ

                   แนวทางที่ 3 การพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพให้กับประชาชน

3.การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

                   แนวทางที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาในระบบและนอกระบบ

                   แนวทางที่ 2 การพัฒนาสนับสนุน ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น

4.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                    แนวทางที่ 1 การรักษาความสงบเรียบร้อยและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

                    แนวทางที่ 2 การช่วยเหลือ จัดสวัสดิการ คนพิการ/ผู้ด้อยโอกาส/ผู้สูงอายุ

                    แนวทางที่ 3 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด                                                 

 

5.การพัฒนาองค์กรและบุคลากรภาครัฐสู่การบริหารจัดการที่ดี

                    แนวทางที่ 1 เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและพัฒนาศักยภาพเพื่อการบริการที่ดี

                    แนวทางที่ 2 ส่งเสริมการสร้างสำนึกประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน

                    แนวทางที่ 3 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์สื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

          1.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์

 

๑)  การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน

๒)  การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

๓)  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง

๔)  การกำจัดขยะมูลฝอย  สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน

๕)  การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโปร่งใสตรวจสอบได้

แผนงาน

                   ๑) แผนงานบริหารงานทั่วไป

                   ๒) แผนงานการรักษาความสงบภายใน

                   ๓) แผนงานการศึกษา

                   ๔) แผนงานสาธารณสุข

                   5) แผนงานเคหะและชุมชน       

6) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

                   7) แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ

                   8) แผนงานการเกษตร

                   9)แผนงานงบกลาง

 

1.8  ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

          การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีของเทศบาลมีความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม  ดังนี้

                  

  

 

 

 เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง

เลขที่ 209 หมู่ 2 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด 45110

โทรศัพท์/โทรสาร :

043-556-354 สำนักงาน

043-556-355 งานป้องกัน, หน่วย EMS

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

พิกัดตำแหน่ง  16°18'49.0"N   103°56'01.8"E

 

                      This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.                    

 

 

 

 

 

 


 


 

 

 

 


 

เจ้าหน้าที่ดูแลเว็บไซต์

จ่าเอกสุรเมธ ทองด้วง
หัวหน้าฝ่ายปกครอง
โทร.043-556-354
E-mail :  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.